กว่าจะมาเป็น ซูกาเวีย





t

 

หญ้าหวาน หรือ Stevia rebaudiana (Bertoni) แม้จะไม่ใช่พืชท้องถิ่นดั้งเดิมของประเทศไทย แต่คนไทยส่วนมากก็คุ้นเคยกับหญ้าหวานกันมานานกว่า 20 ปี เนื่องจากเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2522-2527ได้มีการนำหญ้าหวานเข้ามาทดลองปลูกในภาคเหนือหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ลาพูน

ซึ่งหญ้าหวานสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดังกล่าว จึงมีการขยายพื้นที่ปลูกเพื่อส่งต้นหญ้าหวานออกไปขายยังประเทศญี่ปุ่น ต่อมาการส่งออกหญ้าหวานไปประเทศญี่ปุ่นเริ่มประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคาวัตถุดิบในตลาดโลก จึงทำให้ต้องเลิกกิจการไป อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการเพาะปลูกหญ้าหวานเชิงพาณิชย์กันอีกครั้งในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลาพูน นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เตรียมลงทุนที่จะสร้างโรงงานต้นแบบ เพื่อสกัดสาร stevioside จากต้นหญ้าหวาน แต่ก็ยังมีปัญหาด้านการตลาดโดยเฉพาะภายในประเทศ ด้วยประกาศของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปี พศ. 2537 ได้ระบุไว้ว่า “ให้หญ้าหวาน (Stevia) และผลิตภัณฑ์ที่ทำหรือได้จากหญ้าหวานเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นาเข้า หรือจำหน่ายยกเว้นการผลิตเพื่อจำหน่ายในการส่งออกเท่านั้น”จึงทำให้โครงการดังกล่าวต้องหยุดชะงักลง”

 


s


จากการที่หญ้าหวานเป็นพืชที่มีสารหวานธรรมชาติ สามารถนำมาทดแทนน้าตาลได้ ประกอบกับประชาชนในหลายประเทศ โดยเฉพาะแถบอเมริกาใต้ อเมริกา และญี่ปุ่นได้ใช้สารหวานนี้แทนน้าตาลกันมานาน

นอกจากนั้นประเทศไทยโดยการนำของ ดร.เครือวัลย์ สมณะ ก็ได้ทำการศึกษาถึงอันตรายที่จะเกิดจากการบริโภคหญ้าหวาน จนเป็นที่ประจักษ์ว่าหญ้าหวานสามารถนำมาใช้เป็นสารหวานทดแทนน้ำตาล ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคอ้วน และผู้ที่ห่วงใยสุขภาพ เนื่องจากสารหวานจากหญ้าหวานไม่เพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือด และไม่เพิ่มแคลอรี่ให้กับผู้บริโภค นอกจากนั้นยังไม่มีพิษภัยใดๆ ต่อผู้บริโภคในปริมาณที่กำหนดอีกด้วย จึงได้ผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศฉบับที่ 262 เรื่องสตีวิโอไซด์และอาหารที่มีส่วนผสมของสตีวิโอไซด์ได้สำเร็จ โดยอนุมัติให้ใช้สตีวิโอไซด์ สารที่ให้รสหวานจัดซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากหญ้าหวาน เป็นส่วนผสมในอาหารสาหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักเมื่อ ปี พ.ศ. 2545


หลังจากกระทรวงสาธารณสุขมีประกาศให้ประเทศไทยสามารถใช้สตีวิโอไซด์ ซึ่งเป็นสารรสหวานจัดที่ผลิตภัณฑ์จากหญ้าหวานเป็นส่วนผสมในอาหารสาหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้าหนักได้เป็นเวลาถึง 7 ปี ก็ยังไม่มีบริษัทใดให้ความสนใจในการตั้งบริษัทผลิตสารหวานจากหญ้าหวานขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2552 บริษัท ซูกาเวีย จากัด จึงได้ถือกาเนิดขึ้นจากความตั้งใจของ ดร. เครือวัลย์ สมณะ กรรมการผู้จัดการบริษัท ที่ต้องการให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยมุ่งมั่นที่จะผลักดันหญ้าหวานให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ สาหรับช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงและเติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้งผู้บริโภคจะมีทางเลือกในการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่มาจากการรับประทานน้ำตาลและสารสังเคราะห์ได้เป็นอย่างดี